เส้นทางถั่วงอก จากต้นถั่วเขียว สู่จานก๋วยเตี๋ยวผัดไทย

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบกินถั่วงอกมาก
ไม่ว่าจะมาแบบ ถั่วงอกโซโล่ เพียว ๆ ดิบ ๆ
หรือจะมากับเพื่อน ๆ อย่าง ผัดไท, หอยทอด, ก๋วยเตี๋ยว

แต่ข่าวการตรวจพบสารโน่นนี่นั่น ออกมาเป็นระยะ ๆ
ทำให้ไม่ได้กินถั่วงอกมานานแสนนาน



กระทั่งวันนี้ ผมเพาะถั่วงอกกินเองแล้วครับ ปลอดสารพิษ100%
โครงการเพื่อชีวิต เพาะปลูกพอเพียง
http://suwanpost.blogspot.com/2015/01/bean-sprouts-house-lab.html

ระหว่างทดลองเพาะถั่วงอก หาความรู้ ก็ได้รู้อะไรหลายอย่าง
เช่น ประโยชน์ของถั่วงอก (อันนี้มีโพสต์กันดาษดื่นหลายสำนัก
ไม่อยากจะร่วมวงก๊อปกันไปมา หาอ่านได้ไม่ยากครับ อย่างเยอะ)

แล้วยังสงสัยอะไรอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะ ถั่วเขียวที่จะนำมาเพาะมาจากไหน?

ค้นดูการเพาะถั่วงอกก็จะได้คำตอบว่า
พันธุ์อะไร, ซื้อที่ไหน ไม่มีใครคิดที่จะเพาะถั่วงอก ปลูกถั่วเขียว
เก็บเมล็ดถั่วแล้วก็นำมาเพาะถั่วงอก หมุนเวียนเป็นวัฏจักรบ้างเลยเหรอ?

หลังจากได้ศึกษาแล้ว...

ซื้อเป็นเมล็ดมาเลยดีกว่า ง่ายกว่า เร็วกว่า
แต่ถ้าอยากปลูกเป็นต้นถั่วเขียว ก็ลองดูครับ น่าสนใจเหมือนกัน ^^

ก่อนจะไปที่ต้นถั่วเขียว ขอเริ่มจาก..

ถั่วงอกในตลาดใหญ่



มักรับตรงมาจากโรงงานผลิตถั่วงอกเลย
ช่วงเวลาของการขายถั่วงอก จะเริ่มเที่ยวงคืน หรือไร้แสง

ถั่วงอกขายดีมาก ๆ เลยครับ
ร้านหนึ่ง ๆ จะขายกันวันละหลายร้อยกิโลกรัม

ถ้าแม้ค้ามาซื้อไปใช้ อย่างร้านผัดไท-หอยทอด ที่ขายดี ๆ
ใช้กันวันละ 18 กิโลกรัม มีแต่จะไม่พอ ถั่วงอกหมดก่อน ไม่มีเหลือ



โรงงานผลิตถั่วงอกขนาดใหญ่
พวกนี้ กำลังการผลิตวันละ 15-20 ตัน  ขายหมดทุกวัน เงินหมุนเวียนมหาศาล

ประมาณการว่า คนกรุงเทพ บริโภคถั่วงอกกันวันละ 200 ตัน
ถ้าทั่วประเทศ คาดว่าน่าจะเป็น แสนตันต่อปี


วิธีการผลิตถั่วงอกของโรงงานใหญ่


Bloggerชื่อดัง iseechang ผู้เขียนบทความ

ถ้าในอดีตเลย โรงงานถั่วงอกจะเป็นของคนจีนหมด เพราะเป็นผู้บุกเบิก
น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ขาดไม่ได้เลย  แล้วยังต้องรดน้ำทุก ๆ  2-3 ชั่วโมง

รดน้ำ2-3 ชั่วโมง ตรงนี้แหล่ะเป็นเงื่อนไขสำคัญ
ปัจจุบัน โรงงานใหญ่ ๆ  ใช้ระบบให้น้ำอัตโนมัติ  ควบคุมด้วยระบบดิติตอล

แบบชาวบ้านก็จะมี
ระบบTimmer ต่อกับเครื่องปั๊มน้ำ : ผมว่าใช้ไฟฟ้าพอสมควร ถ้าไฟดับ ไฟมีปัญหา ถั่วเน่าได้เลย
แถมบางเจ้าบอกใช้ระบบน้ำหมุนเวียน เอาน้ำที่รดแล้วมารดซ้ำใหม่  เวงกรำ =__="

ไม่ว่าตำราไหน มันต้องน้ำสะอาด รดใหม่เสมอนี่ น้ำรดถั่วงอกมันไล่เชื้อออก
ถ้าจะเอามาใช้ใหม่ ยังต้องผ่านการบำบัดน้ำเสียก่อนเลย

ระบบน้ำหยด : อันนี้น่าสนใจ ไม่ต้องต่อก็อกน้ำก็ได้ เพียงแต่ต้องคำนวณปริมาณน้ำกับเวลาให้ดี ๆ
แต่น้ำที่รด มันก็จะไม่แรง ยิ่งถ้าเพาะแบบเป็นชั้น ๆ ชั้นล่างคงอับเฉา

แรงงานคน : ต้องผลัดเวรกันมารดน้ำ แบบในอดีต


เทคนิคการรด
บ้างก็ว่า ฉีดน้ำแรง ๆ 2 รอบ  รอบแรกเอาสิ่งสกปรกออก, รอบสองให้ความชุ่มชื้น
เวลารดก็ใช้น้ำเยอะและรดนานเป็นหลายนาทีเลย



โรงงานถั่วงอกมักอยู่ใกล้คลอง




การเพาะถั่วงอกใช้น้ำตลอดเวลา
ยิ่งถ้ารดแบบที่พิมพ์ไว้บรรทัดก่อนแล้ว อาจจะใช้น้ำมากกว่าร้านซักรีดซะอีก

แม้ว่าค่าน้ำประปาจะถูก แต่บรรดาเจ้าของโรงงานเพาะถั่วงอก ก็บอกว่าไม่คุ้มอยู่ดี 
จากกรณี → หนุ่มคอนโด เพาะถั่วงอกเป็นอาชีพเสริมกับภรรยา

ก็ใช้น้ำปะปาแหล่ะ แต่พอหักลบกลบหนี้ ไม่ถึงกับขาดทุน
แต่กำไรก็ไม่มากพอที่จะเรียกว่าคุ้ม(เหนื่อย)ได้


นึกถึงสมัยที่ไทย(สยาม)ยังไม่มีน้ำประปาใช้ทั่วถึง
จับกังหาบน้ำจากคลอง เข้าโรงงานถั่วงอกกันทั้งวันทั้งคืนเลยล่ะครับ



เครื่องหมายQ


สมัยนี้ถ้าได้เครื่องหมายQ
เป็นพวกพืชปลอดสารพิษ ก็ทำราคาได้เหมือนกัน

ตัวอย่าง ราคา ถั่วงอกปลอดสาร มีสัญลักษณ์Q
200 กรัม ขาย 25 บาท  ถ้าขายได้ดี ขายหมดทุกวัน
ราคานี้ ใช้น้ำประปา ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ก็น่าจะอยู่ได้น่ะนะ

ถั่วงอกปลอดสาร 200 กรัม 25 บาท (2558)


พูดถึงเรื่องน้ำซะเยอะเลย มาเข้าเรื่อง..
กระบวนการผลิตถั่วงอก ของโรงงานอุตสาหกรรมถั่วงอกดีกว่า


วิธีการผลิตถั่วงอกของโรงงานใหญ่ (ฉบับเปิดเผย)

*ภาพประกอบจากรายการกบนอกกะลา

1. ซื้อเมล็ดถั่วเขียว มาเก็บเข้าโกดัง มีอยู่ 2 แบบ


แบบ1. ถั่วเขียวผิวมัน เมื่อเป็นถั่วงอกจะ  รสหวาน, ผอม, ยาว



แบบ2. ถั่วเขียวผิวดำ เมื่อเป็นถั่วงอกจะ ไม่หวาน แต่ขาวอวบ และกรอบ แบบนี้นิยมในตลาดมากกว่า



2. เพาะถั่วงอก
2.1 คัดเมล็ดถั่วให้ได้ขนาดและน้ำหนัก ตามสเป็กก่อน
ใช้เครื่องจักรคัดแยก กลุ่มที่ไม่ได้เกณฑ์ก็ขายต่อให้ โรงงานอาหารสัตว์


2.2 นำถั่วเขียวแช่น้ำ 1 ชั่วโมง(เองเหรอ @_@)
แล้วปล่อยแห้ง เพื่อให้ถั่วคลายตัว พร้อมงอก



2.3 เข้าห้องมืด
ในนี้จะมีระบบควบคุมอุณหภูมิ  และระบบให้น้ำอัตโนมัติ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง


โดยปกติ 4 วันก็ส่งขาย

จะมีพิเศษก็พวกขึ้นเหลา(ภัตตาคาร) สั่งพิเศษ
ขอถั่วงอกแบบลำตัวยาว ๆ ตัดหัวตัดราก แบบนี้ก็จะรอต่อไปเป็น 5 วัน


ถั่วงอกถ้าเกินกว่า 5 วัน จะยาวเกินและเน่าง่าย



3. ขนส่ง
จากโรงงานก็จะไปที่ ตลาดสดที่เป็นศูนย์กลาง ตลาดใหญ่ ๆ


ข้อควรระวังเรื่องการขนส่ง
ขอความมืด ไม่โดนแสง เพื่อไม่ให้ถั่วงอกเกิดใบเขียว
ขอความเย็น ไม่ร้อน ในรถขนส่ง ก็จะมีก้อนน้ำแข็งใส่ไว้ด้วย
ขออย่าโดนลม เพราะลมจะทำให้ถั่วดำ รถจึงมีหลังคามีบังแสง



หึ หึ

ในขั้นตอนทั้งหมด ไม่ได้บอกเลยว่าใส่สารอะไรบ้าง
บอกแค่ว่าเป็นระบบ ไฮโดรโปรนิกส์ คือไม่ใช้ดิน ให้สารอาหารทางน้ำแทน



แหล่งปลูกถั่วเขียว  (นาถั่วงอก อิอิ)



เกษตกรถั่วเขียวรายหนึ่งใน จังหวัดพิจิตร อำเภอ โพธิ์ประทับช้าง บอกว่า
ปลูกถั่วเขียว ถือเป็นการบำรุงดินวิธีหนึ่ง ที่ดีเยี่ยม

ปีหนึ่งปลูกสัก 2 ครั้ง  ก็โรยเมล็ดถั่วเขียวลงไปนี่แหล่ะ
3 วันก็กลายเป็นเป็นถั่วงอก  แต่เราจะไม่เก็บกิน ปล่อยให้เป็น นาถั่วงอก..

จนกระทั่งเป็นไร่ถั่วงอก  กว่าจะเก็บเกี่ยวได้ ก็ใช้เวลารวม 75 วัน
( 2 เดือนครึ่ง ปีหนึ่งทำ 2 รอบ ก็ 5 เดือน )


เกี่ยวต้นถั่วเขียวด้วย เคียวเกี่ยวข้าว
กองให้แห้ง 4-5 วัน แล้วก็เอาใส่ รถนวดข้าว

ก็จะได้เมล็ดถั่วงอกออกมา


พ่อค้าคนกลางก็จะเข้ามาซื้อ ราคาไม่แน่นอน คนปลูกไม่ได้เป็นคนกำหนด
อย่างปีนี้ ได้กิโลกรัมละ 22 บาท ก็ถือว่าไม่เลว


ไร่หนึ่งได้เมล็ดถั่วขายประมาณ 150 กิโลกรัม
ต้นทุนก็แล้วแต่ ถ้าปลูกหลังทำนา ก็อาศัยความชื้นในดินที่ยังเหลืออยู่ช่วยได้มาก,
ค่ารถไถหน้าดิน เตรียมปลูก เป็นต้น

อย่างเรา ๆ คนเมืองธรรมดา ทดลองเพาะกินเองก่อนดีกว่าไหมอ่ะ? ^^
ถั่วงอก ตึกแถว ในห้องมืดบ้านฉัน


iseeCHANG.com
สุวรรณโพสต์


-----------------------------

อ้างอิง
รายการกบนอกกะลา ตอน ถั่วงอก มหา-สาร-จาน-ด่วน

เดลินิวส์ ฉบับวันเสาร์ 19 กรกฎาคม 2557
http://www.dailynews.co.th/Content/Article/253228/‘ปลูกถั่ว’ ชนิดต่างๆ สร้างรายได้เสริมน่าสน

ความคิดเห็น