มหากาพย์ไฟฟ้า ตอนที่4 ประเทศไทย เคยใช้แรงดันไฟฟ้า 110 Volt ไหงเปลี่ยนเป็น 220 Volt ล่ะ

หลังจากโลกได้ข้อสรุปว่า วางโครงข่ายไฟฟ้าจ่ายไฟแบบAC ดีกว่า ในตอนที่ 3


ปัญหาอย่างหนึ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่ เริ่มแรกที่ถกกัน
คือประเด็นของ เอดิสัน AC มันดูดคนตาย!!

ประเทศที่เจริญแล้วมีตังค์ เลือกที่จะใช้แรงดันไฟฟ้าแค่ 110 V.
เมื่อถูกไฟบ้านดูด โอกาสรอดมากกว่า

ส่วนประเทศที่เจริญแล้วแต่ไม่ค่อยมีตังค์ อย่างไทย  สุดท้ายขอเลือกใช้แบบ 220 V.





ถ้าจะให้ฟันธงไปเลย ก็เพราะ

ต้นทุนการวางโครงข่าย 110 V. แพงกว่า 220 V. เยอะ

สายส่งของ 110 V. เส้นมันใหญ่กว่า 220 V. ราคาแพงกว่า น้ำหนักมากกว่า

น้ำหนักมากกว่า ทำให้ระยะห่างของเสาไฟฟ้าแรงสูงก็ต้องสั้นกว่า
ไม่งั้นสายหย่อนคล้อยไม่ได้ได้ระดับ
i. ระยะห่างของสายไฟฟ้าแรงสูงเส้นล่างสุด กับพื้นดิน ต้องไม่น้อยกว่า 9 เมตร

Bloggerชื่อดัง iseechang ผู้เขียนบทความ

แล้วเสาต้นหนึ่งก็ราคาสูงมาก ถ้าต้องวางกันถี่ๆ ต้นทุนก็ยิ่งสูง
i. เสาส่งไฟฟ้าแรงสูงของไทย ห่างกันสูงสุดได้ ห้ามเกิน 430 เมตร


สรุป สาเหตุจริงๆก็คือ ต้นทุน นั่นเอง

--> เนื้อหาอื่นๆ เรื่องบ้าน กับ Blogเรื่องบ้าน

By iseeCHANG.com

มีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมบอกกันได้นะครับ

กดLike เป็นกำลังใจ
กดShare ออกไปคนอ่านต่ออาจได้ประโยชน์

ขอบคุณครับ ^_____^

isc_200x150

ความคิดเห็น

  1. ขอติงหน่อยนะครับ บทความมีจุดผิดพลาดเยอะ ตั้งแต่ไฟฟ้ากระแสสลับมรความสมบูรณ์ในตัวมันเอง ไม่ต้องกลับไปหาแหล่งจ่าย อันนี้ผิดครับ มันต้องกลับไปหาแหล่งจ่ายเสมอ ถึงจะครบวงจร ที่จิ้มลงดินเพราะใช้ดินเป็นสื่อเดินทางกลับไปหาไดนาโมครับ ไม่ใช่ไฟฟ้าจะซึมและย่อยสลายลงไปในดิน

    อีกเรื่องคือ ไฟฟ้าระบบ 110V เป็นระบบเก่าครับ มีความสูญเสียเยอะกว่า ใช้ปริมาณมาณหน้าตัดทองแดงของสายไฟเยอะกว่า เปลืองต้นทุนกว่า แต่ทำไมประเทศที่เจริญแล้วถึงใช้ระบบนี้ เพราะว่าประเทศที่เจริญแล้วเป็นประเทศแรกๆที่มีไฟฟ้าใช้ครับ เค้าเลยเริ่มต้นจากระบบเก่า พอผ่านระยะเวลาไปหลายสิบปี มันการเป็นรากฐานของประเทศเค้าไปแล้ว จะมารื้อระบบให้เป็นไฟ 220V ก็ยากแล้วครับ ส่วนไทยเราวางระบบทีหลังเค้า เลยเริ่มต้นกับระบบใหม่ได้ครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น