น้ำประปาดื่มได้ ล้างโรค และเคล็ดลับทำน้ำเสียเป็นน้ำใส

สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เกิดโรคห่าระบาด(อหิวาตกโรค) 2 ครั้ง ในบางกอก
คนตายวันละหลักร้อยคน เมื่อปี พ.ศ. 2415

และ พ.ศ.2424 จดหมายเหตุเขียนว่า
ในครั้งนั้นน้ำเหนือหลากมามีสีแดงเหมือนน้ำปูน...



สาเหตุของอหิวาตกโรค
มาจากการได้รับน้ำที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อน
อุจจาระและอาเจียรของผู้ป่วย ในน้ำและอาหาร
i. โรคห่านี้ระบาดเป็นระยะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่2
เป็นที่มาของแร้งวัดสระเกศ คนเมืองหลวงตายเหลือราวๆ 1 ใน 3





อาการของโรค
จะท้องร่วงถ่ายอุจจาระเหลวจนตัวตาย

รักษาโดย
ชดเชยน้ำและเกลือแร่ให้ร่างกาย
ร่วมด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ก็ยังตายได้อยู่ดี


รัชกาลที่ 5 หลังเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง
เมื่อพ.ศ.2440 ทรงดำริให้สยามมีน้ำประปาใช้แบบยุโรปบ้าง

แต่กว่าจะสามารถตั้งต้นโรงผลิตน้ำประปาแห่งแรกได้
ก็ล่วงมาปีพ.ศ.2452 แล้วเสร็จในสมัย รัชกาลที่ 6
i. สามารถชมโรงผลิตน้ำประปาแห่งแรกได้ที่ สามเสน




-- ที่ว่าน้ำประปา ล้างโรค ก็ด้วยเหตุแห่งการมีน้ำสะอาดไว้ใช้ อุปโภคบริโภคนี้แล --


น้ำประปามีเกณฑ์วัดความสะอาดอย่างไร?
--> https://docs.google.com/file/d/0B2e9qX0myQ-dZmcyV3Q3Qk5TaDA/edit?pli=1


น้ำประปาดื่มได้ จริงหรือ?
ต้นทางมีความสะอาดดื่มได้จริง แต่ปลายทางก็ขึ้นอยู่กับสภาพท่อ บ้านใครบ้านมัน
i. ผอ.การประปา ดื่มน้ำประปามานานกว่า 20 ปี

สาเหตุที่น้ำประปาปนเปื้อน หรือกลิ่นคลอรีนฉุนกว่าปกติ
(-) ท่อเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นท่อเหล็กอาบสังกะสี
เวลาก็ผ่านมานานแล้วจึงเป็นสนิม ปนเปื้อนลงมาในน้ำประปา
พบปัญหานี้มากในเขตเมืองเก่า เช่น เยาวราช

(+) ทางการประปาพยายามเปลี่ยนเป็นท่อแบบใหม่
เป็นเหล็กเหนียวฉาบสีด้านใน(ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค)
ซึ่งจะมีอายุการใช้งานกว่า 50 ปี

i. โครงข่ายท่อประปาในกรุงเทพยาวกว่า 25,000 กิโลเมตร
อยู่ลึกลงไปจากถนนราวๆ 7 เมตร มีการเปลี่ยนและดูแลรักษากันตลอด


(-) กลิ่นคลอรีนฉุนจัง
เป็นเพราะ เมืองขยายออกไป ปลายท่อก็อยู่ไกลออกไปทุกที
มาตรฐานกำหนดให้มีคลอรีนคงอยู่ไม่น้อยกว่า 0.2 mg/ลิตร
ทำให้ต้นทางมีคลอรีนเข้มข้นเพื่อพอไปถึงปลายทางจะจางลงได้เกณฑ์มาตรฐาน

(+) วิธีกำจัดกลิ่นคลอรีนอย่างง่าย
พักน้ำทิ้งไว้จนกว่ากลิ่นคลอรีนจะหาย อาจแค่ 20นาที 2ชั่วโมง หรือเป็นวัน


อย่าเชื่อว่าน้ำประปาสะอาดดื่มได้ เพราะ
หากน้ำมีสี มีกลิ่นอื่นที่ไม่ใช่คลอรีน
ล้วนเกิดจากการปนเปื้อนทั้งนั้น ท่อแตก ท่อรั่ว ถังพักน้ำของอาคารสกปรก
สิ่งที่เราต้องทำคือ แจ้งการประปา เพื่อตรวจสอบ

น้ำประปาที่เราใช้มาจากไหน?
มาจากการแบ่งน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านคลองขุด ชื่อคลองประปา
ส่งเข้าโรงผลิตน้ำแต่ละแห่งมี บางเขน เป็นจุดแรก


กำเนิดเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยาเกิดจาก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน
มารวมกันที่ อ.ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์




ลองตามแม่น้ำปิงขึ้นไปดูตาน้ำกัน
แล้วค่อยๆล่องนาวา ดูวิถีชีวิตริมน้ำ กับคุณภาพน้ำ ลงมาเรื่อยๆ
จนออกทะเลกันเลย ^^

v
v

หมู่บ้านต้นน้ำ

ทริปนี้เริ่มต้นที่ ชุมชนบ้านยองแหละ
ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่




ที่นี่มีตาน้ำผุดขึ้นเป็นบริเวณกว้างจากภูเขา
ความเป็นอยู่เหมือนฝันของคนอยากเกษียนกลุ่มหนึ่ง

มีการดูแลป่าให้อุดมสมบูรณ์ เพราะทุกคนรู้ว่าป่ากำเนิดน้ำ
น้ำช่วยการเกษตรปลูกข้าวปลูกผักกินเองได้ตลอดปี




พวกเขาใช้น้ำดื่มกินจากธารน้ำได้เลย
มีการต่อท่อมาใช้ในหมู่บ้าน น้ำแรง ไม่ต้องอาศัยปั๊มน้ำใดๆ

v
v

แม่น้ำแม่ตื่น



จากตาน้ำไหลมารวมกันเป็น ธารน้ำเล็กๆ
ธารน้ำเล็กๆ รวมกันเป็นธารน้ำใหญ่ เป็นแม่น้ำแม่ตื่น
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งร่วมสร้างแม่น้ำปิงให้ยิ่งใหญ่
i. แม่น้ำปิงมีสายน้ำมากกว่า 20 สาขาแน่ะ

พอเป็นแม่น้ำ สีน้ำก็เริ่มเปลี่ยนไปเพราะตะกอน
ผู้คนริมน้ำก็จะใช้เพื่อการเกษตร จับปลา และชำระล้าง

ส่วนน้ำดื่มจะรองน้ำฝนดื่มแทน


แม่น้ำแม่ตื่น จะมารวมกับแม่ปิง
ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น  จังหวัดตาก

ก่อนที่จะเข้าสู่

v
v

เขื่อนภูมิพล
อำเภอสามเงา จังหวัดตาก


Bloggerชื่อดัง iseechang เขียน

ล่องตามน้ำลงมาจะเจอกับคอนกรีตขนาดใหญ่ขวางทางน้ำไว้
ชื่อ เขื่อนภูมิพล เป็นเหมือนตุ่มน้ำขนาดมหึมา
ใช้ผลิตไฟฟ้าและควบคุมปริมาณน้ำ สู่พื้นที่ด้านล่าง

i. มิติเขื่อนภูมิพล สูง 154 เมตร, ยาว 486 เมตร
สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร ฐานเขื่อนกว้าง 56 เมตร รัศมีโค้ง 250 เมตร
เปิดใช้ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507

v
v

คลองประปา



ก่อนเจ้าพระยาจะเข้ากรุงเทพ
จะถูกแบ่งน้ำดิบเข้าสู่คลองประปา ที่อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

โดย สถานีสูบน้ำดิบสำแล จะเป็นด่านตรวจน้ำดิบ
เพื่อส่งเข้าคลองประปาฝั่งตะวันออก(ของแม่น้ำเจ้าพระยา)

i. ที่เลือกทำเลตรงจุดนี้เพราะเห็นว่าน้ำทะเลหนุนมาไม่ถึง
แต่ปัจจุบันหนุนถึงแล้วครับ เกิดปัญหาน้ำประปาเค็ม
ข่าว 18 กุมภาพันธ์ 2557 --> http://youtu.be/tlcSAikczJ0

คุณภาพน้ำดิบขึ้นอยู่กับ
- ฝนมากชะดินพังทลายมาก น้ำจะขุ่น มีตะกอนและเศษขยะธรรมชาติมาก
- เกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมี
- น้ำทิ้งจากโรงงาน
- สิ่งปฏิกูลจากบ้านคน


ที่นี่จะวัดคุณภาพน้ำดิบทุกชั่วโมง
เฝ้าระวังความเป็นพิษของน้ำ 24 ชั่วโมง

รับประกันด้วยชีวิตลูกปลาตะเพียนขาว
ที่มีความไวต่อความเป็นพิษสูง

น้ำร้อนน้ำเย็นปลาจะเป็นจะตาย แต่น้ำเป็นพิษตะเพียนขาวตายก่อน




i. คลองประปาฝั่งตะวันออก ความยาว 31 กิโลเมตร
ส่งน้ำดิบให้โรงผลิตน้ำประปา 3 แห่ง บางเขน, สามเสน และธนบุรี

i. คลองประปาฝั่งตะวันตก(ของแม่น้ำเจ้าพระยา)
จากสถานีสูบน้ำบางเลนถึงโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ประมาณ 35 กิโลเมตร

v
v

โรงผลิตน้ำประปา




1. ตักเอาขยะออกให้หมดก่อน
มีการกรองขยะหยาบและละเอียดตลอดเวลา

ใบไม้ ใบหญ้า กิ่งไม้ เป็นเรื่องธรรมชาติ
แต่ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ถ้วย ถัง ชาม กะละมัง ผ้าเปื่อย บลาๆๆ นี่มันมนุษย์ทิ้งเอง

เจ้าหน้าที่เห็นแล้วเก็กซิม
ถ้ามีแบ๊งค์ร้อย แบ๊งค์พันติดมาด้วยก็ว่าไปอย่าง
ช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำหน่อยครับ ^^"


2. ถังตกตะกอน
ใช้สารตกช่วยตะกอนอย่างสารส้ม
ทำให้ตะกอนรวมตัวกันเป็นก้อนแล้วจมลงสู่ด้านล่าง

น้ำด้านบนจะใส นำไปเข้ากระบวนการต่อ
น้ำด้านล่างจะเป็นดินตะกอน ต้องนำไปกำจัดต่อไป


3. ถังกรอง
กรองเอาอนุภาคความสกปรกเล็กๆ ออกให้หมดจด


4. เติมคลอรีน
เพื่อฆ่าแบคทีเรีย และเชื้อโรคที่ระบาดทางน้ำ


5. ถังน้ำใสรอจ่าย
ได้น้ำประปาแล้วจ้าาา


v
v

น้ำประปาหลังใช้งาน

หลังเอาไปล้างชาม ซักผ้า อาบน้ำ อุปโภคบริโภค
แล้วก็ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้ง มารวมกันอีกที ในสภาพใหม่

ดำปี๋ มีกลิ่นเน่าเสีย ฟองผุดๆ



v
v

โรงบำบัดน้ำเสีย

-- เปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นน้ำใส --



1. เอาขยะออก
ไม่ว่าจะเป็นสารแขวนลอยหรือกรวดทราย


2. เติมออกซิเจนในน้ำ
หลักการคือต้องเติมอากาศ(ออกซิเจน)เข้าไป
เพื่อเลี้ยงตัวจุลชีพในน้ำเสียให้กินความสกปรก

ใช้เวลากว่า 6 ชม. จากน้ำสีดำก็จะสีอ่อนลง


3. ถังตกตะกอน
คล้ายตอนทำน้ำประปา ต้องแยกตะกอนให้น้ำใสก่อน

ใช้เวลานานนับ 10 ชม.


4. กำจัดกลิ่น
เข้าระบบกำจัดกลิ่นด้วยสารเคมี


5. ตรวจคุณภาพให้ได้มาตรฐาน
เป็นน้ำใสได้มาตรฐานปลอดภัยลงเล่นน้ำได้
ก็ปล่อยคืนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านทางคูคลองต่างๆ



v
v

ออกทะเล


จากเจ้าพระยาก็ลงสู่ทะเล  รอการควบแน่นเป็นน้ำฝน
ฝนตกลงสู่ป่า ป่าอุ้มน้ำ และผลิตน้ำลงสู่ลำธาร
จากลำธารเป็นทางน้ำใหญ่ กลับเป็นแม่น้ำใหม่ในที่สุด

Happy Ending


** เรื่องเล่าของน้ำประปาก็เป็นเช่นนี้แล **


By iseeChang.com

----------------------------------------
อ้างอิง
รายการกบนอกกะลา
หนังสือ “ประเพณีทองถิ่น” โดย เจริญ ตันมหาพราน

การประปานครหลวง
http://www.mwa.co.th

คลินิกน้ำสะอาด
http://cwc.mwa.co.th

โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง
http://dds.bangkok.go.th

----------------------------------------

มีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมบอกกันได้นะครับ

กดLike คนเขียนเห็นก็ชื่นใจ
กดShare ออกไปคนอ่านต่ออาจได้ประโยชน์

ขอบคุณครับ ^_____^

isc_200x150

ความคิดเห็น