เบื้องหลังการบริจาคเลือด

ทั่วไปเราจะเห็นแต่เบื้องหน้า
คือ นอนบีบมือดูเลือดไหลลงจนเต็มถุง
เสร็จแล้วก็มากินอาหารว่าง แล้วก็จบไป1ครั้ง

แต่เบื้องหลังต่อจากนี้มีความวุ่นวายพอสมควร

เลือดที่ให้ไปจะถูกแบ่งเป็น 2 เส้นทาง
1. ใส่หลอดแก้วตรงเข้าห้องLAB
2. ใส่ถุงเข้าห้องคัดแยกส่วนประกอบของเลือด







v
v

LABเลือด จะตรวจเชื้อที่อยู่ในเลือด
หากพบเชื้อโรคติดต่อ เช่น เอดส์, ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบ อื่นๆ
เลือดนั้นก็จะต้องถูกนำไปทำลาย

มีกว่า 5% ของเลือดทั้งหมดทีเดียว เป็นเลือดที่ใช้ไม่ได้



v
v

แยกส่วนประกอบของเลือด

• เม็ดเลือดแดง
• เม็ดเลือดขาว
• เกล็ดเลือด
• พลาสม่า(น้ำเหลือง) 55%

ผู้ป่วยที่ต้องการเลือด จริงๆ ต้องการเฉพาะส่วนที่ขาด


Bloggerคนดัง iseechang เจ้าของบทความ


v
v

ถุงเม็ดเลือดแดง
ใช้ในการผ่าตัด ถ่ายเลือดให้กับผู้ป่วยโรคโลหิตจาง
หรือ โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น





ถุงเม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด
ใช้กับผู้ป่วย ไข้เลือดออก, เลือดออกในสมอง,
ภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ  เป็นต้น





ถุงพลาสม่า
ผู้ป่วยที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด
เช่น โลหิตไหลไม่หยุด





v
v

เก็บไว้ในคลังเลือดสภากาชาดไทย
รอโรงพยาบาลต่างๆ เดินทาง มารับไปใช้
i. ไม่คิดค่าเลือด แต่คิดค่าถุงบรรจุ และน้ำยาในLAB

การจัดเก็บจะแยกประเภท แยกที่เก็บ ตามความเหมาะสม

• ถุงเม็ดเลือดแดง อยู่ในตู้แยกกรุ๊ปเลือด
• ถุงเกร็ดโลหิตจำเป็นต้องมีเครื่องเขย่าถุงตลอดเวลา
• ถุงพลาสม่า อยู่ในห้องอุณหภูมิ -25 องศาเซลเซียส

i. กลุ่มเลือดหายากได้แก่ Rh-
Rh- คือ เลือดที่ไม่มีโปรตีน ชนิด D บนผิวเม็ดเลือดแดง (3คนใน1000)
คนทั่วไปจะเป็น Rh+ คือมีโปรตีน ชนิด D บนผิวเม็ดเลือดแดง





v
v

กาชาดขาดแคลนเลือดเกือบตลอดปี

บรรดาเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลต่างๆ ที่เดินทางมารับเลือด
ส่วนใหญ่จะไม่ได้ครบตามต้องการ

แม้ว่าจะไม่มีLimitในการขอ แต่..
ขอ 30 ถุง ได้ 12 ถุง
ขอ 10 ถุง ได้ 3 ถุง

i. วันที่มีเลือดเยอะเต็มคลังจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา

v
v

นำเลือดจากกาชาดเข้าธนาคารเลือดของร.พ. รอเบิกจ่าย

นอกจากเอกสารแล้ว
ยังต้องมีตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยมาด้วย
เพื่อนำเช็คอีกทีว่าเลือดสามารถเข้ากันได้

v
v

ผู้รับเลือด
ตัวอย่างผู้ป่วยเด็กที่เป็น โรคธาลัสซีเมีย (โลหิตจาง)





ผู้ป่วยต้องรับการถ่ายเลือดตลอดชีวิต
ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ถึง 1%

หากไม่ได้รับเลือด ซึ่งก็เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะ ไม่มีเลือดจริงๆ
เด็กจะตัวซีด อ่อนเพลีย อาการแย่ลงเรื่อยๆ ๆ . . .

การบริจาคเลือดคือการต่อชีวิตพวกเขา อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยครับ


เพราะจะทำให้เขามีความแข็งแรงเทียบได้กับเด็กทั่วไป

v
v

*** เลือดของเรามีทางเดินไปแบบนี้นี่เอง ***


ข้อดีที่เหลือเชื่อ ต่อสุขภาพผู้บริจาคเลือด
+ ร่างกายจะผลิตเลือดน้องใหม่ สดใส เฟรชชี่  ออกมาใช้
คุณภาพเลือดดี และทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น อวัยวะต่างๆก็ทำงานได้ดีขึ้น

+ ลดโอกาสเกิดมะเร็งบางอย่าง เช่น
มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งตับ, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งปอด ฯลฯ
ด้วยการลดธาตุเหล็กส่วนเกิน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของมะเร็งเหล่านี้


สิทธิประโยชน์สำหรับคนบริจาคเลือด
100 ครั้ง สามารถขอพระราชทานเพลิงศพได้ 
i. สุดยอด คนธรรมดาอย่างเราก็มีโอกาสได้รับเกียรตินี้ (สะสมยอดเร็วสุดๆก็ 25 ปี)

7, 18, 24 ครั้ง มีสิทธิช่วยลดค่ารักษาในโรงพยาบาลที่กำหนด
--> http://redcross.or.th/forum/12206

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิตทั่วไป 17-60 ปี
--> http://th.wikipedia.org/wiki/การบริจาคโลหิต

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิตอายุ 60-70 ปี
--> http://blood.redcross.or.th/content/คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต


By iseeChang.com


----------------------------------------

อ้างอิง
รายการกบนอกกะลา
สภากาชาดไทย redcross.or.th

----------------------------------------

มีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมบอกกันได้นะครับ

กดLike คนเขียนเห็นแล้วชื่นใจ
กดShare ออกไปคนอ่านต่ออาจได้ประโยชน์

ขอบคุณครับ ^_____^
isc_200x150

ความคิดเห็น